ประวัติศาสตร์ ม 2

สวัสดีค่ะนักเรียนทุกคน  ขอต้อนรับสู่การเรียนรู้เรื่องราวในอดีตสู่โลกปัจจุบัน

This slideshow requires JavaScript.

หนังสือเรียนอิเล็กทรอนิกส์เรื่องบุคคลสำคัญสมัยอยุธยา

http://online.anyflip.com/rqvif/eghy/

วิจัยในชั้นเรียน

สรุปทบทวนเนื้อหาม. 2 ม. 3 ช่วง 2

สรุปสังคม/ประวัติศาสตร ม 2 ม 3

สรุปทบทวนวิชาประวัติศาสตร์  ส  22102  ม.2

-ที่ตั้งและสภาพทางภูมิศาสตร์เป็นปัจจัยที่มีผลต่อการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์

-ประเทศมองโกเลียอยู่ในภูมิภาคเอเชียกลาง

-รัสเซียล่มสลายประเทศแยกประเทศต่าง ๆ  ออกเป็น  15  ประเทศ  อยู่ในภูมิภาคเอเชียกลาง

-เทือกเขาหิมาลัยกั้นพรมแดนระหว่างเอเชียใต้กับเอเชียตะวันออก

-ภูมิภาคเอเชียตะวันออกมีภูมิประเทศที่เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำและชายฝั่งทะเล

-ภูมิภาคเอเชียตะวันออกมีภูเขาสูงทางใต้และทางตะวันตก  มีทะเลทรายก้างใหญ่ทางเหนือส่งผลดีด้านการป้องกันศัตรูมารุกราน

-พ่อค้าชาวเอเชียใต้นิยมเดินทางมาค้าขายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

-พวกดราวินเดียนเป็นเจ้าของอารยธรรมดั้งเดิมในเอเชียใต้

-ภูมิภาคเอเชียใต้พบกับภัยธรรมชาติอยู่เสมอคือพายุไซโคลน

-ประชาชนส่วนใหญ่ในเอเชียใต้เช่นประเทศนับถือศาสนา

-บริเวณลุ่มแม่น้ำไทยกริส  ยูเฟติสเป็นเขตอุดมสมบูรณ์และเป็นแหล่งก่อกำเนิดอารยธรรมสำคัญ

-การที่ชาวเอเชียตะวันตกเฉียงใต้แก่งแย่งดินแดนที่อุดมสมบูรณ์ส่งผลทำให้มีแต่ปัญหา

-ภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้เป็นภูมิภาคที่มีความสำคัญด้านสังคมวัฒนธรรม

-การมีพื้นที่ไม่ติดทะเล  ไม่มีสินค้าเป็นที่ต้องการของตลาดโลก  อยู่ห่างไกลจากศูนย์กลางเศรษฐกิจโลกทำให้เอเชียกลางประสบกับการพัฒนาเศรษฐกิจ

-เอเชียกลางมีความสัมพันธ์ด้านวัฒนธรรมกับเอเชียตะวันตกเฉียงใต้มากที่สุด

-กำแพงเมืองจีนแสดงถึงความยิ่งใหญ่ของจีนสมัยจักรวรรดิ

-ลัทธิเต๋า  มีแนวคิดใช้ชีวิตกลมกลืนไปกับธรรมชาติ  ปล่อยทุกอย่างไปตามวิถีของมัน  ใช้ชีวิตอย่างสันโดษและปล่อยวาง

-จีนผลิตเข็มทิศในระยะแรกเผยแพร่ไปยังยุโรปโดยพ้อค้าอาหรับ

-จุดมุ่งหมายในการผลิตเข็มทิศของจีนในระยะแรกเพื่อหาทิศทางในการสร้างบ้าน

-ในสมัยราชวงศ์ชิงมีการประกาศห้ามฝังเข็มเพื่อการรักษาโรคเพราะเห็นว่าอันตรายและไม่แน่ใจว่าจะรักษาโรคหายได้หรือไม่

-อารยธรรมในเอเชียใต้ส่วนใหญ่เป็นเรื่องเกี่ยวกับศาสนาและปรัชญา

-วัฒนธรรมในเอเชียใต้แพร่หลายไปยังประเทศต่าง ๆ  เพราะอินเดียใช้ศาสนาเป็นทางผ่านของการถ่ายทอดอารยธรรม

-วรรณกรรมเรื่องภควัทคีตาของอินเดียกล่าวถึงปรัชญา  ศาสนาและวัฒนธรรมในการดำเนินชีวิต

-ภาพจิตรกรรมฝาผนังตามวัดต่าง ๆ  ไทยรับอิทธิพลด้านศาสนาและวรรณกรรมมาจากอินเดีย

-ประเทศไทย พม่า ญี่ปุ่นรับอิทธิพลด้านศาสนาจากอินเดีย

-อินเดียได้กำหนดความรู้ด้านการคำนวณโดยกำหนดเครื่องหมายแทนตัวเลขสิบตัว

-อักษรคูนิฟอร์มเป็นตัวอักษรรูปภาพ

-ชาวซูเมเรียนได้สร้างสรรค์อารยธรรมในดินแดนเมโสโปเตเมียเป็นกลุ่มแรก

-กฎหมายฮัมมูราบีเป็นกฎหมายที่มีบทลงโทษที่เรียกว่าตาต่อตาฟันต่อฟัน

-ศาสนาคริสต์  ยูดาย  อิสลามก่อกำเนิดขึ้นในภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้

สรุปทบทวนเนื้อหา  รายวิชา  สังคมศึกษา รหัส  ส  22101  ม.2

-การเผยแพร่ศาสนาที่ดีที่สุดของพระสงฆ์คือการเทศนาได้ถูกต้อง

-การบรรยายให้ความรู้ด้านพระพุทธศาสนาไม่ควรเปรียบเทียบกับศาสนาอื่น

-การจัดนิทรรสการเผยแพร่ความรู้ด้านศาสนาใช้เวลาน้อยแต่ได้รับรู้เนื้อหามาก

-การปฏิบัติหน้าที่ของชาวพุทธที่ดีเพื่อศึกษาหลักธรรม  เช่น  การเข้าค่ายพุทธบุตร

-ปฏิสันถาร แปลว่าการต้อนรับ

-การไปเยี่ยมเยียนผู้อื่นที่บ้านควรให้เสียงหรือสัญญาณว่ามีแขกมาหา

-การถวายภัตตาหารเพลแด่พระสงฆ์ที่บ้านชาวพุทธจะกระทำเพื่อเป็นสิริมงคล  ทำนุบำรุงศาสนา  ฟังธรรมเทศนา

-ก่อนตักบาตรควรถอดรองเท้า นิมนต์พระ ตักอาหารใส่บาตรด้วยกิริยาสำรวม

-การถวายสังฆทานเป็นทานที่ถวายแด่พระสงฆ์ทั่วไปมิได้เจาะจงว่าจะเป็นพระภิกษุรูปใด

-การถวายสังฆทานเป็นการฝึกความเสียสละ

-วันวิสาขบูชาเป็นวันคล้ายวันประสูติ  ตรัสรู้  และปรินิพพาน

-หลักธรรมที่เกี่ยวเนื่องในวันวิสาขบูชาคืออริยสัจ 4

-วันมาฆบูชาเกิดเหตุการณ์  เรียกว่าจาตุรงคสันนิบาต  หลักธรรมในวันนี้คือโอวาทปาติโมกข์

-พิธีมิสซามีจุดมุ่งหมายเพื่อระลึกถึงชีวิตและคำสอนของพระเยซู

-การทำละหมาดเป็นการแสดงความเคารพต่อพระเจ้า

-การถือศีลอดฝึกความอดทนทางร่างกายและจิตใจ  ศรัทธาต่อพระเจ้า  ความพร้อมในกำลังทรัพย์

-กฎหมายช่วยให้สังคมสงบสุข

-พระราชกำหนดประกาศใช้ในกรณีฉุกเฉิน

-กฎหมายมีผลบังคับใช้เมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษา

-การจดทำเบียนสมรสซ้อนไม่มีผลทางกฎหมาย

-ผู้รับบุตรบุยธรรมต้องมีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบห้าปีบริบูรณ์

-เงินได้สุทธิคือเงินได้พึงประเมินหักด้วยค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน

-หน่วยการปกครองส่วนภูมิภาคที่เล็กที่สุดคือกิ่งอำเภอ

-กรุงเทพ  พัทยาเป็นรูปแบบการบริหารราชการแผ่นดินส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ

-การมีส่วนร่วมตามวิถีประชาธิปไตย เช่น ไปเลือกตั้ง  ชุมนุมด้วยความสงบ

-การทำงานร่วมกับผู้อื่นควรมีเหตุผล เคารพซึ่งกันและกัน

-นักเรียนมีหน้าที่เล่าเรียนหนังสือ

-เหตุการณ์ 6 ตุลา  19  นิสิตนักศึกษาหนีการปราบปรามเข้าป่าเพื่อรวมกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย

-เหตุการณ์พฤษภาทมิฬพลเอกสุจินดา คราประยูรต้องลาออกจากตำแหน่งและออกนอกประเทศ

-การเลือกรับข่าวสารต้องนำข้อมูลที่ได้รับมาวิเคราะห์  ประมวลข้อมูลจากหลายแหล่ง

-สถาบันครอบครัวเป็นสถาบันพื้นฐานของสถาบันสังคม

-สถาบันการศึกษาให้ความรู้  สถาบันการปกครองควบคุมความประพฤติ

-ถ้าบุคคลปฏิบัติตามบทบาทของตนย่อมทำให้สังคมมีระเบียบเจริญก้าวหน้า

-วัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับกษัตริย์เช่น วันฉัตรมงคล  วันจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ

สรุปทบทวนเนื้อหา ประวัติศาสตร์ ม .3  ส23102

-วันที่ 26  มกราคมเป็นวันชาติของออสเตรเลียเพราะเป็นวันที่กัปตันอาเธอร์ ฟิลลิป  ตั้งนิคมนักโทษในออสเตรเลีย

-อาณาจักรอินคาครอบคลุมประเทศเอกวาดอร์  เปรู  โบลิเวีย  ชิลี  และอาร์เจนตินา

-ชาวออสเตรเลียส่วนมากจะอาศัยอยู่ฝั่งตะวันออกหลังแนวเทือกเขาเรียกว่าเกรดดีไวดิงแรนจ์ บริเวณลุ่มแม่น้ำดาร์ลิงและแม่น้ำเมอร์เรย์ -ดาร์ลิง

-แหลมฮอร์นตั้งอยู่ระหว่างมหาสมุทธแอตแลนตกและมหาสมุทรแปซิฟิก

-แม่น้ำอะเมซอนเกิดจาการละลายหิมะในประเทศเปรู

-ทวีปอเมริกาใต้ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องราวของพวกอินคา

-ชาวยุโรปเดินทางมายังทวีปอเมริกาใต้เพื่อเอาเป็นอาณานิคม

-กาฬทวีป คือทวีปแอฟริกาเพราะมีความลึกลับผู้คนรู้จักน้อย

-แอฟริกามีขนาดใหญ่รองจากทวีปเอเชีย

-แอฟริกามีความล้าหลังเนื่องจาก

-ชนวนสงครามโลกครั้งที่  1  เกิดจากการลอบปลงพระชนม์มกุฎราชกุมารแห่งออสเตรเลีย ฮังการี

-แหล่งอารยธรรมของแอฟริกาอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำไนล์

-ชาวยุโรปสำรวจแอฟริกาเพื่อหาเส้นทางไปสู่อินเดีย

-สเปนสำรวจดินแดนใหม่เพื่อเป็นอาณานิคม

-ออสเตรเลียตั้งอยู่ในซีกโลกใต้และตะวันออก

-หลังสงครามโลกครั้งที่  2  สหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำโลกเสรีประชาธิปไตย  ต่อต้านคอมมิวนิสต์

-การเวลาแห่งความฝัน”เป็นความเชื่อเกี่ยวกับการสร้างโลกและเรื่องราวของบรรพบุรุษที่เล่าขานสืบทอดต่อกัน

-การเลือกตั้งในออสเตรเลียมีการลงคะแนนเสียงโดยวิธีลับ

-ดินแดนแห่งโลกใหม่คือ ทวีปอเมริกา

-คริสโตเฟอร์โคลัมบัสสำรวจทวีปอเมริกาเป็นคนแรก

-พื้นที่ส่วนใหญ่ของออสเตรเลียเป็นทะเลทราย

-ชนดั้งเดิมของออสเตรเลียคือพวกอะบอริจินิส

-ผลของสงครามโลกครั้งที่  1  ทำให้เกิดความร่วมมือก่อตั้งองคืกรเพื่อสันติภาพ

-หลังสงครามโลกครั้งที่  2  ทำให้ประเทศที่เป็นอาณานิคมเรียนร้องเอกราช

-สาเหตุสำคัญที่ทำให้อาณานิคมแยกจากกเมืองแม่เพราะถูกขูดรีดผลประโยชนืมาก

-สงครามโลกครั้งที่  2  นำระเบิดปรมณูมาใช้  มีอานุภาพทำลายล้างสูง

 

สรุปทบทวนเนื้อหา  รายวิชา  สังคมศึกษา รหัส  ส  23101  ม.3

-การกรวดน้ำให้รินน้ำไหลลงไม่ให้ขาดตอน เริ่มกรวดน้ำเมื่อพระสวด  “ยะถา  วาริวหา

-อิมานิ  มะยัง  ภันเต  ปังกุกูลจีวะรานิ  สะปะริวารานิ  ใช้ในการทอดผ้าป่า

-การตักบาตรเทโวเกี่ยวกับการเสด็จโปรดพุทธมารดา

-งานมงคล เช่นงานแต่งนิยมนิมนต์พระมาเป็นจำนวนคู่เพื่อให้เจ้าบ่าวและเจ้าสาวนิมนต์พระมาเท่า ๆ  กัน

-วันอาสาฬหบูชาเป็นวันพระรัตนตรัยครบสามองค์

-การประกอบศาสนพิธีเพื่อชำระจิตใจ  รักษาเอกลักษณ์ชาติ  สมาทานศีลและฟังธรรม

-สัญญาซื้อขายประเภทอสังหาริมทรัพย์  เช่นที่ดิน  และบ้านเรือนต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่

-ศาสนาอิสลามให้บริจาคทานเพื่อให้เกิดความเห็นอกเห็นใจคนอื่น

-หลักอาศรม 4  ของพราหมณ์ฮินดูปฏิบัติเพื่อยกระดับชีวิตให้สูงขึ้น

-โทษอาญา  ริบทรัพย์  ปรับ  กักขัง  จำคุก  ประหารชีวิต

-การลักทรัพย์คือการเอาทรัพยืของผู้อื่นไปโดยที่เจ้าของไม่ยินยอม

-วิ่งราวทรัพย์  คือ  การลักทรัพย์โดยฉกเอาซึ่งหน้า

-ชิงทรัพย์คือ  การลักขโมยของผู้อื่นโดยการใช้กำลังหรืออาวุธททำร้ายเจ้าของทรัพย์

-สิทธิมนุษยชนประกอบด้วยศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์  สิทธิและเสรีภาพของบุคคล  ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์  ความเสมอภาค

-การละเมิดสิทธิมนุษยชนเช่น  นายจ้างทุบตีลูกจ้างแทนการหักค่าแรง

-ประเพณีวัฒนธรรมภาคเหนือเช่น คำเมือง  รับประทานข้างเหนียว  เลี้ยงข้างแลงขันโตก  ข้าวนึ่ง  แกงฮังเล  แกงอ่อม  แกงแค  ไส้อั่ว  ลาบเหนือ  น้ำพริกอ่อง  แคบหมู  ตานก๋วยสลาก  งานปอยหลวง  พิธีบายศรีสู่ขวัญ

-ประเพณีอีสาน เช่น  แห่ผีตาโขน อำเภอด่านซ้าย  จังหวัดเลย  ไหลเรือไฟนครพนม  แห่ปราสาผึ้งสกลนคร

-วัฒนธรรมท้องถิ่นของแต่ละภาคที่คล้ายกันคือพิธีกรรมทางศาสนา

-รสช.  ทำการปฏิรูปรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ  ชินวัตร  และแต่งตั้งนายกคือ พล.อ.  สุรยุทธ  จุลลานนท์เป็นนายกรัฐมนตรี

-การปกครองเผด็จการผู้นำสำคัญที่สุด

-ข้อดีของการปกครองประชาธิปไตยคือประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครอง

-ข้อเสียของเผด็จการคือปกครองโดยคนกลุ่มเดียว

-ผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งนายกรับมนตรีคือประธานรัฐสภา

-การปกครองเผด็จการอำนาจนิยมยังให้เสรีภาพด้านสังคมและเศรษฐกิจ

-การใช้อำนาจแบบเบ็ดเสร็จคือการจำกัดเสรีภาพในการดำเนินชีวิตของมนุษย์

–กกต.มีหน้าที่ในการดำเนินการเลือกตั้งเป็นองค์กรอิสระ

ประเทศที่ปกครองประชาธิปไตยมีประธานาธิบดีเป็นประมุขเช่นฝรั่งเศส  ฟิลิปปินส์

-ประเทศที่ปกครองระบอบประชาธิปไตยมีกษัตริยืเป็นประมุขเช่น  อังกฤษ  เนเธอร์แลนด์  เบลเยียม  เดนมาร์ก  นอร์เวย์  สวี-สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินมีอำนาจในการตรวจสอบการใช้งบประมาณของรัฐ

เดน  ญี่ปุ่น  มาเลเซีย

-ศาลปกครองพิจารณาคดีระหว่างหน่วยงานของรัฐ

-ศาลยุติธรรมประกอบด้วย  ศาลชั้นต้น  ศาลอุทธรณ์  ศาลฎีกา

สรุปทบทวนเนื้อหา เทอม 1/2

สรุปทบทวนเนื้อหา

วันแม่

ระลึกถึงคุณแม่

This slideshow requires JavaScript.

อยุธยา

การสถาปนากรุงศรีอยุธยาและธนบุรี

การสถาปนาอาณาจักรอยุธยาได้สำเร็จเกิดจากอยุธยาเป็นแหล่งอารยธรรมดั้งเดิม  มีแม่น้ำสำคัญไหลผ่าน  มีภูมิอากาศที่เอื้ออำนวย  ตั้งอยู่กึ่งกลางเส้นทางเดินเรือระหว่างจีนกับอินเดีย  มีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ และมีกษัตริย์ที่พระปรีชาสามารถ

คลังภาพ

อบรมพัฒนาตนเองเพื่อเพิ่มพูนความรู้และทักษะ

This gallery contains 1 photos.

อบรมพัฒนาตนเองเพื่อเพิ่มพูนความรู้และทัก … อ่านเพิ่มเติม

ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยสมัยธนบุรี

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยสมัยธนบุรี

กรุงธนบุรีมีอายุเพียง  15  ปีแต่ก็ได้สร้างสรรค์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาที่มีคุณค่าอันสืบทอดมา

จนถึงปัจจุบัน  โดยเกิดจากปัจจัยสำคัญ  คือ

  1.  การรับอิทธิพลด้านภูมิปัญญาและวัฒนธรรมสืบทอดมาจากอยุธยา  เช่น  ด้านศิลปวัฒนธรรมต่าง ๆ
  2.  การรับอิทธิพลจากอารยธรรมตะวันตก  มีผลต่อภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยสมัยธนบุรี

น้อยมาก  ถึงแม้จะมีการเผยแผ่คริสต์ศาสนา  แต่สิ่งที่สำคัญมากคือ  ความต้องการอาวุธปืนที่ใช้ในการป้องกันประเทศ  ดังปรากฏหลักฐานที่บริษัทอินเดียตะวันออกของฮอลันดา  ได้ถวายปืน  50  กระบอก    เพื่อแลกกับไม้ฝางของไทย

ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยในการพิจารณาทำเลที่ตั้งของราชธานี

อยู่ริมแม่น้ำและอยู่ใกล้ทะเล  การที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงเลือกชัยภูมิให้เมืองธนบุรีเป็นราชธานีแห่งใหม่ของไทยเพื่อป้องกันมิให้พม่าโจมตีได้  เพราะแถบนี้น้ำลึก  ถ้าข้าศึกยกทัพมาทางบกไม่มีทัพเรือเป็นกำลังด้วยแล้วยากที่จะเข้ามาตีกรุงธนบุรีได้  ประกอบกับธนบุรีมีป้อมปราการมาตั้งแต่สมัยอยุธยา  เป็นเมืองขนาดย่อม  ทัพบกและทัพเรือของธนบุรี

ย่อมสามารถรักษาราชธานีไว้ได้  แต่ถ้ารักษาไม่ได้  ก็สามารถยกทัพกลับไปตั้งมั่นอยู่ที่เมืองจันทบุรีดังเดิม  นอกจากนี้การที่กรุงธนบุรีตั้งปิดปากน้ำย่อมป้องกันมิให้หัวเมืองฝ่ายเหนือทั้งปวงที่ไม่ได้อยู่ใต้อำนาจของธนบุรีสามารถไปมาค้าขายหรือแสวงหาอาวุธจากต่างประเทศได้ยากขึ้น  ขณะที่ทางธนบุรี

ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยในการปรับตัวเพื่อแก้ปัญหาการดำรงชีวิต

สมัยธนบุรีได้ประสบกับภาวะสงครามและการขาดแคลนข้าว    ทำให้เป็นปัญหา

ของสังคมไทยในขณะนั้น  จึงมีภูมิปัญญาเกี่ยวกับการแก้ปัญหาการดำรงชีวิต  เช่น

  1. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงแก้ปัญหาด้วยการโปรดให้ผู้คนที่อดอยาก

เข้ามารับพระราชทานข้าวปลาอาหาร  ขณะนั้นข้าวสารที่พ่อค้าสำเภาจีนนำมาขายมีราคาแพงมาก

แต่พระองค์ก็ซื้อข้าวสารแจกจ่ายราษฎรข้าวมาขายเพื่อหวังผลกำไรเป็นจำนวนมาก  เมื่อข้าวสารในท้องตลาดมีมากจึงส่งผลให้มีข้าวสารมีราคาถูกลง

  1.  พระองค์ทรงให้บรรดาข้าราชการทั้งผู้ใหญ่และผู้น้อยหันไปทำนาเพิ่มปีละ  2  ครั้ง  ทั้งนาปี

และนาปรัง  ทำให้มีข้าวบริโภคมากขึ้น  ครั้นเมื่อเกิดหนูชุกชุมกัดกินข้าวในยุ้งฉางและทรัพย์สินของราษฎรเสียหายก็ทรงรับสั่งให้จับหนูมาส่งกรมนครบาล  ทำให้จำนวนหนูลดลง ภูมิปัญญานี้ส่งผลถึงปัจจุบันทำให้ประเทศไทยติดอันดับในการส่งออกข้าวไปขายยังต่างประเทศ

  1.  ให้ขุดคูเมืองทั้งสองฟากซึ่งเดิมเป็นสวนปลูกผักผลไม้ให้ขุดออกเป็นที่ท้องนา  เรียกว่า

ทะเลตม  เพื่อไว้ทำนาใกล้พระนคร  สำหรับเป็นเสบียงในยามขาดแคลนข้าว   แต่เมื่อข้าศึกยกมาก็สามารถทำเป็นที่ตั้งค่ายไว้ต่อสู่กับข้าศึกได้

สะดวกต่อการค้าขายทางทะเลกับต่างประเทศ และสามารถแสวงหาอาวุธได้ง่ายเพราะอยู่ติดทะเล

ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยด้านศิลปกรรม

            เนื่องจากสมัยธนบุรีเป็นราชธานีในระยะเวลาสั้น ๆ  และต้องตกอยู่ในภาวะสงครามตลอดเวลา

ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมด้านศิลปกรรมจึงมีอยู่บ้าง  เช่น

เรือ  การต่อเรือเจริญมากเพราะมีการต่อเรือรบ เรือสำเภา ตลอดจนเรือกระบวนไว้ใช้ในราชการเป็นจำนวนมาก

สถาปัตยกรรม  กรุงธนบุรีเป็นยุคของการสร้างบ้านแปลงเมือง  จึงมีการก่อสร้างเป็นจำนวนมาก  อาทิ  พระราชวัง ป้อมปราการ กำแพงพระนคร พระอารามต่าง ๆ  ลักษณะสถาปัตยกรรมสมัยนี้ล้วนสืบทอดมาจากสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย  ฐานอาคารจะมีลักษณะอ่อนโค้งดุจรูปเรือสำเภา  ทรงอาคารจะสอบชะลูดขึ้นทางเบื้องบน  ส่วนประกอบอื่น ๆ ของอาคารก็ไม่แตกต่างจากอยุธยามากนัก  เป็นที่น่าเสียดายว่าสถาปัตยกรรมสมัยธนบุรีมักได้รับการบรูณะซ่อมแซมในสมัยหลังหลายครั้งด้วยกัน  ลักษณะในปัจจุบัน

จึงเป็นแบบสถาปัตยกรรมในรัชกาลที่บูรณะครั้งหลังสุด  เท่าที่ยังปรากฏเค้าเดิมในปัจจุบัน ได้แก่

ป้อมวิชัยประสิทธิ์ กำแพงพระราชวังเดิม พระตำหนักท้องพระโรง และพระตำหนักเก๋งคู่ในพระราชวังเดิมที่ได้รับอิทธิพลการก่อสร้างมาจากจีน  พระอารามทั้งในพระนครและหัวเมืองที่ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์

ในรัชกาลนี้ล้วนแต่ได้รับการบรูณะใหม่ในรัชกาลต่อมาเช่นกัน  ที่ยังแสดงลักษณะศิลปกรรมสมัยกรุงธนบุรี  ได้แก่  พระอุโบสถและพระวิหารน้อย วัดอรุณราชวราราม  พระอุโบสถและพระวิหารเดิมวัดราชคฤห์

พระอุโบสถเดิมวัดอินทาราม  ตำหนักแดง วัดระฆังโฆสิตาราม  และพระอุโบสถวัดหงส์รัตนาราม

ประณีตศิลป  กรุงธนบุรีมีนายช่างผู้เชี่ยวชาญด้านนี้อย่างพร้อมมูล ทั้งช่างรัก ช่างประดับ

ช่างแกะสลัก ช่างปั้นและช่างเขียน  งานประณีตศิลป์ชิ้นสำคัญสมัยนี้ ได้แก่ ตู้พระไตรปิฎกลายรดน้ำ 4 ตู้

ในหอวชิรญาณ  ซึ่งได้มาจากวัดราชบูรณะ วัดจันทาราม และวัดระฆังโฆสิตาราม  ช่างหล่อคนสำคัญปรากฏในพระราชพงศาวดารว่า  โปรดให้หลวงวิจิตรนฤมล  ปั้นพระพุทธรูปให้ต้องตามพุทธลักษณะที่โปรดให้สอบสวน  แล้วหล่อพระพุทธรูปสัมฤทธิ์ยืนองค์หนึ่งปางสมาธิองค์หนึ่ง  งานแกะสลัก  ได้แก่พระแท่นบรรทมในพระอุโบสถน้อย วัดอรุณราชวราราม  ในพระวิหารวัดอินทาราม  และตั่งจากอำเภอแกลง

จังหวัดระยอง  ซึ่งเก็บรักษาไว้ ณ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ กรุงเทพฯ

จิตรกรรม  ภาพจิตรกรรมสมัยธนบุรีอาจดูได้จาก ตำราภาพไตรภูมิ (ฉบับหลวง)  มีการวาดภาพเกี่ยวกับไตรภูมิหรือโลกทั้งสาม  เพื่อปลูกฝังให้คนไทยเกิดความเชื่อในเรื่องบาปบุญคุณโทษ  ประพฤติกรรมดี ละเว้นความชั่ว  ซึ่งเก็บรักษาอยู่ ณ หอสมุดแห่งชาติ  และลวดลายรดน้ำที่ปรากฏบนตู้พระไตรปิฎกและภาพจิตรกรรมสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยด้านศิลปกรรม

            เนื่องจากสมัยธนบุรีเป็นราชธานีในระยะเวลาสั้น ๆ  และต้องตกอยู่ในภาวะสงครามตลอดเวลา

ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมด้านศิลปกรรมจึงมีอยู่บ้าง  เช่น

เรือ  การต่อเรือเจริญมากเพราะมีการต่อเรือรบ เรือสำเภา ตลอดจนเรือกระบวนไว้ใช้ในราชการเป็นจำนวนมาก

สถาปัตยกรรม  กรุงธนบุรีเป็นยุคของการสร้างบ้านแปลงเมือง  จึงมีการก่อสร้างเป็นจำนวนมาก  อาทิ  พระราชวัง ป้อมปราการ กำแพงพระนคร พระอารามต่าง ๆ  ลักษณะสถาปัตยกรรมสมัยนี้ล้วนสืบทอดมาจากสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย  ฐานอาคารจะมีลักษณะอ่อนโค้งดุจรูปเรือสำเภา  ทรงอาคารจะสอบชะลูดขึ้นทางเบื้องบน  ส่วนประกอบอื่น ๆ ของอาคารก็ไม่แตกต่างจากอยุธยามากนัก  เป็นที่น่าเสียดายว่าสถาปัตยกรรมสมัยธนบุรีมักได้รับการบรูณะซ่อมแซมในสมัยหลังหลายครั้งด้วยกัน  ลักษณะในปัจจุบัน

จึงเป็นแบบสถาปัตยกรรมในรัชกาลที่บูรณะครั้งหลังสุด  เท่าที่ยังปรากฏเค้าเดิมในปัจจุบัน ได้แก่

ป้อมวิชัยประสิทธิ์ กำแพงพระราชวังเดิม พระตำหนักท้องพระโรง และพระตำหนักเก๋งคู่ในพระราชวังเดิมที่ได้รับอิทธิพลการก่อสร้างมาจากจีน  พระอารามทั้งในพระนครและหัวเมืองที่ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์

ในรัชกาลนี้ล้วนแต่ได้รับการบรูณะใหม่ในรัชกาลต่อมาเช่นกัน  ที่ยังแสดงลักษณะศิลปกรรมสมัยกรุงธนบุรี  ได้แก่  พระอุโบสถและพระวิหารน้อย วัดอรุณราชวราราม  พระอุโบสถและพระวิหารเดิมวัดราชคฤห์

พระอุโบสถเดิมวัดอินทาราม  ตำหนักแดง วัดระฆังโฆสิตาราม  และพระอุโบสถวัดหงส์รัตนาราม

ประณีตศิลป  กรุงธนบุรีมีนายช่างผู้เชี่ยวชาญด้านนี้อย่างพร้อมมูล ทั้งช่างรัก ช่างประดับ

ช่างแกะสลัก ช่างปั้นและช่างเขียน  งานประณีตศิลป์ชิ้นสำคัญสมัยนี้ ได้แก่ ตู้พระไตรปิฎกลายรดน้ำ 4 ตู้

ในหอวชิรญาณ  ซึ่งได้มาจากวัดราชบูรณะ วัดจันทาราม และวัดระฆังโฆสิตาราม  ช่างหล่อคนสำคัญปรากฏในพระราชพงศาวดารว่า  โปรดให้หลวงวิจิตรนฤมล  ปั้นพระพุทธรูปให้ต้องตามพุทธลักษณะที่โปรดให้สอบสวน  แล้วหล่อพระพุทธรูปสัมฤทธิ์ยืนองค์หนึ่งปางสมาธิองค์หนึ่ง  งานแกะสลัก  ได้แก่พระแท่นบรรทมในพระอุโบสถน้อย วัดอรุณราชวราราม  ในพระวิหารวัดอินทาราม  และตั่งจากอำเภอแกลง

จังหวัดระยอง  ซึ่งเก็บรักษาไว้ ณ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ กรุงเทพฯ

จิตรกรรม  ภาพจิตรกรรมสมัยธนบุรีอาจดูได้จาก ตำราภาพไตรภูมิ (ฉบับหลวง)  มีการวาดภาพเกี่ยวกับไตรภูมิหรือโลกทั้งสาม  เพื่อปลูกฝังให้คนไทยเกิดความเชื่อในเรื่องบาปบุญคุณโทษ  ประพฤติกรรมดี ละเว้นความชั่ว  ซึ่งเก็บรักษาอยู่ ณ หอสมุดแห่งชาติ  และลวดลายรดน้ำที่ปรากฏบนตู้พระไตรปิฎกและภาพจิตรกรรมสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

วรรณกรรม

วรรณกรรมสำคัญที่เกิดในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินกรุงธนบุรี มีดังนี้

1. บทละครเรื่องรามเกียรติ์  พระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าตากสินกรุงธนบุรี

2. ลิลิตเพชรมงกุฎ  ประพันธ์โดยหลวงสรวิชิต (หน)

3. อิเหนาคำฉันท์  ประพันธ์โดยหลวงสรวิชิต (หน)

4. กฤษณาสอนน้องคำฉันท์  ประพันธ์โดยพระยาราชสุภาวดี  และพระภิกษุอินท์

5. โคลงยอพระเกียรติพระเจ้ากรุงธนบุรี  ประพันธ์โดย  นายสวนมหาดเล็ก

6. นิราศกวางตุ้ง หรือนิราศพระยามหานุภาพไปเมืองจีนครั้งกรุงธนบุรี พ.ศ. 2324  บทประพันธ์ของ

พระยามหานุภาพ  เป็นวรรณกรรมที่มีชื่อเสียงในสมัยนี้

นาฏดุริยางค์และการละเล่น  แม้ว่าศิลปกรรมเหล่านี้จะได้รับความกระทบกระเทือนจากภัยสงคราม  โดยถูกพม่ากวาดต้อนไปบ้าง  แต่ก็ยังไม่สูญหายไปเสียทีเดียว  ยังคงหลงเหลืออยู่ตามหัวเมืองสำคัญ เช่น เมืองนครศรีธรรมราช  และหลบซ่อนตัวตามเมืองอื่นบ้าง  นอกจากในพระราชสำนักแล้ว  สมเด็จพระเจ้าตากสินกรุงธนบุรี  ได้พระราชทานโอกาสให้บุคคลทั่วไปมีครูฝึกสอนละครนาฏศิลป์  และจัดแสดงได้โดยไม่จำกัด   ทั้งนี้เพื่อบำรุงขวัญประชาชนซึ่งเพิ่งรวบรวมตัวกันเป็นปึกแผ่นใหม่ ๆ  นาฏศิลป์และการละเล่นสมัยกรุงธนบุรีที่ปรากฏหลักฐานในจดหมายเหตุ  สมโภชพระแก้วมรกต พ.ศ. 2323  คือ โขน หนัง หุ่น ละคร รำ (รำหญิง,รามัญรำ,ชวารำ,ญวนรำถือโคมดอกบัว) มโหรี ปี่พาทย์ ระเม็งโมงครุ่ม ญวนหกและคนต่อเท้า โจนหกร้านหอก หกไม้ลำเดียว หกไม้สูง 3 ต่อ ไต่ลวดลังกาไม้ลวดต่ำ คุลาเล็ก มังกรตรีวิสัย(แทงวิสัย) โตกระบือหรือโตกระบือจีนเงาะ มวย คู่ปล้ำ เสลหรือดาบดั้ง คู่ง้าว คู่ทวน คู่หอก คู่กฤช ชนช้าง แข่งม้า ทวนหลังม้า กระบี่หลังม้าและม้าคลุมม้าคลี  และยังโปรดให้เจ้านครศรีธรรมราชจัดละครมาร่วมงานเป็นการประกวดประชันกับของหลวงด้วย